หนี้กำลังจะเสีย "กลิ่นไม่ดี" กู้ซื้อรถยนต์เริ่มเสี่ยงพุ่งขึ้น 18%
หลังจากที่นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร เปิดเผยว่า หนี้ครัวเรือนไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 16 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เก็บข้อมูลอยู่ที่เครดิตบูโรประมาณ 13.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นลูกหนี้ 32 ล้านราย ในจำนวนนี้เป็นหนี้เสียไปแล้ว 1 ล้านล้านบาท หรือกว่า 5 ล้านคนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ขณะที่ หนี้เสีย ที่นำไปปรับโครงสร้าง 9.8 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 8 แสนล้านบาท ถือเป็นสัญญาณที่ดี
แต่ก็ต้องดูต่อไปว่าหนี้ก้อนนี้เมื่อปรับโครงสร้างแล้วจะกลายเป็นหนี้ดีเท่าไร และต้องจะกลายเป็นหนี้เสียเท่าไร โดยเฉพาะ “หนี้เสีย” จากการกู้ซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นจากกลางปีก่อนถึง 18% แตะ 2 แสนล้านบาท ซึ่งตรงนี้คุณสุรพลบอกว่า “กลิ่นไม่ค่อยดี”
จับตากลุ่ม "หนี้กำลังจะเสีย"
ซึ่งมีหนี้ที่กำลังจะเสีย หรือ มีพฤติกรรมเลี้ยงงวดอีก 4.8 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้รถยนต์ 2 แสนล้านบาท และหนี้บ้าน 1.8 แสนล้านบาท ทั้งหมดนีั้ถือเป็นสัญญาณที่น่าเป็นห่วง
เครดิตบูโร มองแนวโน้มหนี้เสียจะยังคงเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ แต่ เครดิตบูโรงกังวลว่าในขณะที่การปรับโครงสร้างหนี้กำลังไปได้ด้วยดี ส่วนหนึ่งเนื่องจากมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว หรือ ที่เรียกว่า "มาตรการฟ้า-ส้ม" ของธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับมาตรการกลุ่ม "สีฟ้า" คือ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกหนี้เป็นหลัก ส่วนมาตรการกลุ่ม “สีส้ม” คือ การช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ผ่านการขยายระยะเวลาการชำระหนี้เพียงอย่างเดียว
แต่มาตรการเหล่านี้จะหมดอายุในช่วงธันวาคม 2566 จึงกังวลว่าจะส่งผลต่อปริมาณหนี้ที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ จึงเสนอให้ ธปท.คงมาตรการแก้หนี้สีฟ้าไปจนถึงปี 2567
กระทุ้ง"หนี้ครัวเรือน"พุ่งแตะ 16 ล้านล้านบาทและไทยจะติดกับดักต่อไป
ลิสซิ่งเข้มงวดก่อนปล่อยสินเชื่อรถ หลังหนี้เสียพุ่ง
แก้หนี้ยั่งยืนยังไม่ตอบโจทย์
ส่วนมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ที่เตรียมบังคับใช้เม.ย.ปี 2567 มองว่าอาจยังไม่ตอบโจทย์ ควรใช้วิธีจัดการคนที่มีลักษณะที่หนี้ที่มีปัญหาเหมือนกันมารวมกัน รวมถึงต้องมีแรงจูงใจจากหน่วยงานที่กำกับดูแล เพราะเมื่อรวมหนี้ต้องลดดอกเบี้ย รายได้ของสถาบันการเงินก็หายไป จะสามารถลดหย่อนอะไรให้สถาบันการเงินได้บ้าง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้สถาบันการเงิน รวมถึงต้องสร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ปิดหนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม นายสุรพล มองว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนจะต้องอยู่กับประเทศไทยไปอีกระยะ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนจะลดได้ ประชาชนต้องมีรายได้ที่ดีขึ้นเพื่อมาลดหนี้สิน