คุมไซยาไนด์ ล้อมคอกคดี "แอม"-ช้อปปี้ ลาซาด้า ถอดสินค้าออกหมด
นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวว่า การนำสารโพแทสเซียมไซยาไนด์ไปใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์ เช่น นำไปกำจัดสัตว์ หรือนำไปก่อเหตุฆาตกรรมนั้นกรมออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อยกระดับการกำกับดูแลโพแทสเซียมไซยาไนด์ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น ด้วยการกำหนดมาตรการควบคุมดูแลเพิ่มเติมแยกรายกลุ่มทั้งหมด 3 กลุ่มตามวัตถุประสงค์การนำไปใช้ ได้แก่
1. กลุ่มผู้นำเข้าสำหรับกิจการโรงงาน กับ 2. กลุ่มผู้นำเข้าสำหรับห้องปฏิบัติการ ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ต้องยื่นข้อมูลผู้ใช้ (End User)คำพูดจาก เว็บตรงสล็อต
พร้อมระบุวัตถุประสงค์การใช้ ประกอบการแจ้งนำเข้าก่อนนำของออกจากด่านศุลกากร
ในรูปแบบเอกสารที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น และต้องรายงานทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณการครอบครองแบบเรียลไทม์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมฯ แต่กลุ่มที่ 3. ผู้นำเข้าสำหรับกิจการชุบล้างโลหะขนาดเล็ก ให้รายงานปริมาณการครอบครองทุก 3 เดือน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรม
วงแชร์มรณะ! ลูกแชร์ “แอม” ตายแล้ว 3 ศพ พบไซยาไนด์ในเหยื่อเพิ่ม
เร่งแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย หลังอียูออกใบเหลืองเตือน
อธิบดีกรมโรงงานฯ อธิบายต่อว่า ข้อกำหนดของใบอนุญาตฉบับใหม่ จะกำหนดอายุไม่เกิน 1 ปี จากเดิมไม่เกิน 3 ปี และต้องมีข้อมูลผู้จำหน่าย กับข้อมูล ผู้ใช้ ประกอบการพิจารณาอนุญาตด้วย หากผู้รับใบอนุญาตที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตฯ โดยจะใช้ประกาศเพิ่มเติมนี้ในการดูแลไปจนกว่าในอนาคตจะมีการแก้ประกาศในกฎหมายฉบับใหญ่ ที่ต้องใช้เวลา มีขั้นตอนการหารือ การนำเข้า ครม.เพื่อพิจารณา รวมถึงมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนมาก การประกาศต้องมีความจำเป็นจริงๆ ต้องรอให้ผลสรุปของคดีมีความชัดเจนที่สุดก่อน
นอกจากนี้ กรมโรงงาน ยังขอความร่วมมือไปยัง สคบ. เพื่อห้ามมิให้มีการโฆษณาและจำหน่ายโพแทสเซียมไซยาไนด์ในแพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้าออนไลน์ทุกประเภท ทำให้ปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง ช้อปปี้ ลาซาด้า ได้ถูกถอดออกทั้งหมดแล้ว
สำหรับภาพรวมการใช้ไซยาไนด์ ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้นำเข้าทั้งประเทศ 6 ราย / ส่วนร้านค้าปลีก กฎหมายระบุไว้ถ้าครอบครองเกิน 1,000 กิโลกกรัมถึงจะต้องขออนุญาต ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้าที่ถือครองเข้าข่ายอนุญาตทั้งสิ้นเพียง 2 ใบอนุญาตเท่านั้น ส่วนการใช้งานตั้งแต่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด ได้แก่ ร้านทอง 2,000 แห่ง /แลป 100 แห่ง / โรงงาน 300 แห่ง – ผู้ใช้รายบุคคล ต้องลงทะเบียนก่อน แล้วแจ้งย้อนหลังว่าซื้อมาจากใคร ซื้อมาเท่าใด ใช้วัตถุประสงค์เพื่อเหตุอันใด
ยอดการนำเข้าสารไซยาไนด์
- ปี 64 = 83 ตัน
- ปี 65 = 100 ตัน
- ปี 66 = 17 ตัน
ทั้งนี้ หากตรวจพบว่า ผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย หรือผู้ใช้มีการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ